PM-2.5-ภัยร้าย-ทำลายปอด

PM 2.5 ภัยร้าย ทำลายปอด

ปัจจุบันอากาศในประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ในเขตเมือง ทั้งในกรุงเทพและปริมณฑล รวมถึงตามเมืองสำคัญต่าง ๆ เต็มไปด้วยฝุ่นมลพิษมากขึ้น ซึ่งค่ามลภาวะทางอากาศของประเทศสูงติดอันดับต้น ๆ ของโลก

แต่ปัญหาวิกฤติที่กำลังวิตกคือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กว่า 2.5 ไมครอน (Particulate Matter 2.5 – PM2.5) ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทำให้ขาดความตระหนักถึงอันตรายต่อสุขภาพอย่างยิ่ง ฝุ่นละออง PM 2.5 ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้เครื่องจักร โดยเฉพาะเครื่องยนต์ของทั้งรถยนต์ใหม่และเก่า มักมีปริมาณสูงสุดในช่วงรถติด ในช่วงเช้าและเย็นของวันทำงาน โดยมักจะเกิดในช่วงฤดูหนาวที่อากาศนิ่งและแห้ง ส่งผลให้ฝุ่นไม่ลอยขึ้นที่สูง อีกทั้งปัจจุบันกรุงเทพฯ กำลังประสบปัญหาลมพัดผ่านได้ยาก อากาศหยุดนิ่ง เนื่องจากมีตึกสูงปิดกั้นทางลม รวมถึงฝุ่นจากการก่อสร้างเกือบทุกพื้นที่

สาเหตุส่วนใหญ่มาจาก การเผาไหม้ (Combustion particles) เช่น
  • การเผาขยะ เผาป่า เผาหญ้า
  • ท่อไอเสียรถยนต์ หรือเครื่องยนต์
  • การเผาไหม้เชื้อเพลิงที่ใช้ในโรงงาน หรือ เชื้อเพลิงในครัวเรือน
  • การเผาขยะ เผาป่า เผาหญ้า
ภัยร้ายจากฝุ่น PM2.5

ด้วยขนาดที่เล็กมาก ของฝุ่น PM 2.5 ทำให้สามารถลอดผ่านกลไกการป้องกันสิ่งแปลกปลอมของร่างกาย ได้แก่ ขนจมูก ผิวหนัง เยื่อเมือกในหลอดลม รวมไปถึงเซลล์ที่ทำหน้าที่ดักจับสิ่งแปลกปลอมในถุงลม เข้าสู่ถุงลมปอดและซึมเข้ากระแสเลือด ทำให้เกิดผลเสียต่ออวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย

ส่งผลต่อทางเดินหายใจและปอด

มลพิษในอากาศส่งผลโดยตรงกับระบบทางเดินหายใจและปอด ยิ่งเมื่อฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ยิ่งสามารถผ่านเข้าสู่ทางเดินหายใจได้ง่ายและรวดเร็ว ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคหอบหืดกำเริบ หรือเป็นสาเหตุให้คนปกติเป็นหอบหืดได้เช่นกัน หากไม่รีบแก้ไข หรือไม่รู้ตัวว่าสูดเอามลพิษขนาดเล็กเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจและปอดจนสะสมเป็นเวลานาน อาจเป็นปัจจัยให้เกิดมะเร็งปอดได้ในที่สุด

ส่งผลต่อหัวใจ

การสูดหายใจเอาฝุ่นละอองขนาดเล็กติดต่อกันระยะหนึ่ง ส่งผลให้เกิดการตะกอนภายในหลอดเลือด จนทำให้เกิดหัวใจวาย หรือหลอดเลือดสมองตีบได้ ทั้งนี้การสัมผัสมลพิษทางอากาศยังมีผลต่อเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ ทำให้เต้นผิดจังหวะ และอาจรุนแรงจนส่งผลให้หัวใจวายเฉียบพลัน

ส่งผลต่อสมอง

เมื่อฝุ่นละอองขนาดเล็กสามารถผ่านเข้าสู่กระแสเลือดและเกิดการสะสมขึ้น ส่งผลให้ความดันโลหิตสูง และเลือดมีความหนืด ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดลิ่มเลือดในสมอง รวมถึงหลอดเลือดแดงในสมองแข็งตัว ทำให้เส้นเลือดในสมองตีบ หรือแตก เป็นสาเหตุของโรคอัมพฤกษ์อัมพาตและเสียชีวิตได้

กลุ่มเสี่ยงอันตราย
  • เด็ก
  • สตรีมีครรภ์
  • ผู้สูงอายุ
  • ผู้ป่วยหรือมีโรคประจำตัว
การดูแลและป้องกันตนเอง
  • หลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ควรอยู่ในบ้านหรืออาคารที่มีเครื่องฟอกอากาศ
  • สวมหน้ากากอนามัยชนิดที่สามารถป้องกันฝุ่น PM 2.5 ได้ เช่นหน้ากาก N95 เมื่อจำเป็นต้องออกจากบ้าน
  • ควรทำความสะอาดผิว / ล้างหน้าให้สะอาดทันที หลังจากที่ต้องสัมผัสกับฝุ่นมลพิษ
  • สวมเสื้อแขนยาว เพื่อปกป้องผิวไม่ให้ระคายเคืองของผิว
  • ทาครีมบำรุงผิว เพื่อให้ความชุ่มชื้นและทำให้เกราะป้องกันผิวแข็งแรงขึ้น
  • พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทานผลไม้หรือวิตามินที่สารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี ดื่มน้ำสะอาดเพื่อช่วยในการขับสารพิษจากร่างกาย

สำหรับผู้ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงสถานที่หนาแน่นของมลพิษทางอากาศ หรือไม่แน่ใจการป้องกันตนได้ผลหรือไม่ โดยเฉพาะบุคคลในกลุ่มเสี่ยง หากพบอาการ เช่น หายใจลำบาก หน้ามืด อ่อนแรง หรือไอติดต่อกันรุนแรง ควรรีบพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาให้ทันท่วงที

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.samitivejhospitals.com

Essential_tremor

อาการมือสั่น อย่ามองข้าม

เพราะอาการมือไม้สั่น… มันไม่ธรรมดา

อาการมือสั่นเป็นเรื่องที่หลายคนอาจเคยมองข้าม แต่ในบางกรณีอาจสะท้อนถึงความผิดปกติของระบบประสาท มาดู 4 ลักษณะมือสั่น พร้อมสาเหตุที่ต้องรู้

  1. Resting Tremor

สั่นขณะอยู่นิ่ง ๆ โดยไม่ตั้งใจขยับ พบบ่อยในโรคพาร์กินสัน เกิดจากความเสื่อมของสมองส่วน Substantia Nigra ที่ผลิตสารโดปามีนลดลง อาการมักพบในผู้สูงอายุ แต่บางครั้งอาจเกิดกับคนอายุน้อย (Young-onset Parkinson’s Disease)

2. Intention Tremor

สั่นเมื่อพยายามทำกิจกรรมที่มีเป้าหมาย เช่น การหยิบของ มักเกิดจากความผิดปกติในสมองน้อย (Cerebellum) หรือก้านสมอง ซึ่งอาจเกิดจากขาดเลือด เนื้องอก หรือการใช้ยากันชักเกินขนาด

3. Postural Tremor

สั่นขณะต้านแรงโน้มถ่วง เช่น ชูแขน สาเหตุอาจมาจากความเครียด ไทรอยด์เป็นพิษ น้ำตาลในเลือดต่ำ การถอนพิษสุรา หรือโรคสั่นไม่ทราบสาเหตุ (Essential Tremor)

4. Psychogenic Tremor

สั่นที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ เกิดทันทีทันใด อาการมักดีขึ้นเองเมื่อผ่อนคลาย

ขอบคุณที่มา : www.pt.mahidol.ac.th

1-1_โรครองช้ำ

โรครองช้ำ ความเจ็บที่ไม่ควรมองข้าม

“อาการปวดฝ่าเท้า” แม้ดูเหมือนจะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่แท้จริงแล้วอาจเป็นสัญญาณของ “โรครองช้ำ” ซึ่งสามารถรบกวนชีวิตประจำวันอย่างมาก เนื่องจากทำให้การเดินลำบาก

เพราะ… มีอาการอักเสบและปวดบวมใต้ฝ่าเท้าเหมือนถูกเข็มทิ่ม หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาการอาจลุกลามจนเส้นเอ็นฉีกขาด และอาจต้องถึงขั้นผ่าตัด

สาเหตุของโรครองช้ำ มาจากการใช้งานข้อเท้ามากเกินไป

เช่น การเดินหรือวิ่งนาน ๆ ใส่รองเท้าส้นสูงบ่อย ๆ หรือมีน้ำหนักตัวมาก บางคนที่มีปัญหาเท้าผิดรูป เช่น อุ้งเท้าแบน หรือเท้าโก่ง ก็มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น รวมถึงการออกกำลังกายบางประเภท เช่น การเต้นแอโรบิค หรือปั่นจักรยาน ก็เป็นสาเหตุได้เช่นกัน

การป้องกันโรครองช้ำ ทำได้โดยเลือกรองเท้าที่เหมาะสม

ลดกิจกรรมที่ต้องใช้ฝ่าเท้าเป็นเวลานาน หากจำเป็นต้องใช้รองเท้าส้นสูง ควรหมั่นพักเท้า และยืดกล้ามเนื้ออย่างสม่ำเสมอ ผู้ที่มีรูปเท้าผิดปกติควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำรองเท้าพิเศษ เพื่อลดความเสี่ยง

หลายคนมองว่าโรคนี้ไม่อันตรายและรักษาได้เอง

แต่ในความเป็นจริง ควรรีบพบแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้องและป้องกันอาการเรื้อรัง การรักษาที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างเต็มที่ ใส่รองเท้าสวย ๆ และออกกำลังกายได้อย่างสบายใจอีกครั้ง

1-1Cover_Text-Neck-Syndrome

ก้มเล่นมือถือนาน ๆ เสี่ยงปวดคอเรื้อรัง

“Text Neck Syndrome” ก้มเล่นมือถือบ่อย ๆ เสี่ยงปวดคอเรื้อรัง!

รู้หรือไม่? การก้มเล่นมือถือบ่อย ๆ อาจทำให้คุณเสี่ยงเป็น “Text Neck Syndrome” อาการปวดคอ บ่า ไหล่ ที่มาพร้อมกับการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นเวลานาน เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ การก้มคอซ้ำ ๆ โดยเฉพาะในท่าทางที่ไม่เหมาะสมส่งผลให้กระดูกสันหลังส่วนคอและกล้ามเนื้อรอบ ๆ เกิดความเครียดอย่างต่อเนื่อง

เมื่อคุณก้มคอ 15 องศา น้ำหนักที่กระทำต่อคอจะเพิ่มขึ้นเป็น 12 กิโลกรัม และเมื่อก้มคอ 60 องศา น้ำหนักจะพุ่งสูงถึง 27 กิโลกรัมเลยทีเดียว! ส่งผลให้กล้ามเนื้อและหมอนรองกระดูกเสื่อมเร็วขึ้น โดยเฉพาะในวัยรุ่นและเด็กที่มักใช้มือถือมากกว่า 5-7 ชั่วโมงต่อวัน

อาการของ Text Neck Syndrome นอกจากจะปวดคอแล้ว คุณยังอาจมีอาการปวดหลังส่วนบน ปวดไหล่ ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ ชามือ หรือแม้กระทั่งกล้ามเนื้ออ่อนแรง หากปล่อยไว้นาน อาการเหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตในอนาคต

วิธีป้องกัน

  • หลีกเลี่ยงการก้มคอมากเกินไปขณะใช้มือถือหรือแท็บเล็ต
  • ปรับระดับหน้าจอให้อยู่ในแนวสายตา
  • พักเบรกทุก 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมงเพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ
  • ใช้อุปกรณ์เสริม เช่น ที่ตั้งแท็บเล็ตหรือคีย์บอร์ดไร้สาย เพื่อลดการยกศีรษะไปข้างหน้า
  • ลดการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นาน ๆ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก

ขอบคุณที่มา : มหาวิทยาลัยมหิดล ศูนย์กายภาพบำบัด คณะกายภาพบำบัด

เท้าเหม็น_ไม่ใช่เรื่องตลก

เท้าเหม็น ไม่ใช่เรื่องตลก

ทำไม…เท้าถึงเหม็น

โรคเท้าเหม็น หรือ Pitted Keratolysis เกิดจากสภาวะที่เท้ามีเหงื่อออกมากเกินไป (Hyperhidrosis) หรือมีความอับชื้นเป็นเวลานาน จึงเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียที่พบได้ตามปกติบนผิวหนังของเรา

แบคทีเรียเหล่านี้ จะเติบโตได้ดีในสภาวะที่อับชื้น และมีผลกระทบสองประการที่ทำให้เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ การย่อยสลายผิวหนังชั้นนอก ทำให้เกิดลักษณะเป็นร่องหรือหลุมที่เท้า สร้างสารที่มีกลิ่นเหม็น เช่น Sulfur compound ซึ่งเป็นตัวการสำคัญของกลิ่นเท้า

การป้องกันเท้าเหม็น

  • เลือกรองเท้าที่สามารถระบายอากาศได้ดี
  • ใช้ถุงเท้าทำจากผ้าที่ดูดซับเหงื่อได้ดี เช่น ผ้าฝ้าย หรือผ้าขนสัตว์
  • สวมรองเท้าแตะเปิดนิ้วเท้าทุกครั้งที่ทำได้
  • รักษาความสะอาดของเท้า ล้างเท้าด้วยสบู่หรือน้ำยาทำความสะอาดวันละสองครั้ง
  • ทาครีมบำรุงเท้าอย่างน้อยสัปดาห์ละสองครั้ง
  • อย่าสวมรองเท้าคู่เดียวกัน ติดกันสองวัน ควรทิ้งไว้ให้แห้งจากความชื้นก่อน
  • อย่าใช้รองเท้าหรือผ้าเช็ดตัวร่วมกับผู้อื่น

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  www.samitivejhospitals.com

349690331_974613676887387_4107096216969015339_n

ปาร์ตี้ปิ้งย่าง เสี่ยงเซลล์มะเร็ง

ทุกคนรู้ไหมว่า เซลล์มะเร็ง พบได้ในอาหารปิ้งย่าง เนื่องจากเป็นแหล่งของตัวกระตุ้นเซลล์มะเร็งชั้นดีสองตัว หนึ่งคือสารในกลุ่มไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic aromatic hydrocarbons หรือ PAH) พบในควันที่เกิดจากไขมันสัตว์ที่โดนความร้อนสูง สองคือสารในกลุ่มเอมีนส์ (Heterocyclic amines) พบมากในเนื้อแดงที่ถูกความร้อนสูง

หากจำเป็นต้องรับประทานอาหารปิ้งย่าง แต่ไม่อยากอ้วนและเสี่ยงต่อมะเร็ง แนะนำให้ปฏิบัติตามดังนี้

  • เลือกสถานที่ปิ้งย่างที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี หรือมีเครื่องดูดควันคุณภาพสูง
  • เน้นรับประทานเป็นเนื้อปลา หรือไก่ไม่ติดหนัง
  • เลี่ยงการรับประทานเนื้อแปรรูป เช่น ไส้กรอก เบค่อน ไส้กรอกอีสาน
  • อย่าใช้ไฟแรง อย่าปิ้งจนเกรียม และหมั่นทำความสะอาดคราบเขม่าและรอยไหม้ต่างๆที่ติดอยู่บริเวณตะแกรง
  • หมักเนื้อด้วยน้ำมะนาว สะระแหน่ มิ้นท์ โรสแมรี่ สมุนไพรเหล่านี้จะช่วยลดการเกิดของสารก่อมะเร็งในกลุ่มเอมีนส์
  • ตัดเนื้อส่วนที่มีมันออกก่อนนำไปปิ้งย่าง เพื่อลดการเกิดสารก่อมะเร็งกลุ่มไฮโดรคาร์บอน
  • เน้นรับประทานผักสดๆควบคู่ด้วยเสมอ
  • เลือกดื่มน้ำเปล่า แทนการดื่มน้ำอัดลมหรือสุรา

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  www.samitivejhospitals.com/th/article/detail/ปิ้งย่าง-มะเร็ง

357764420_280160934683260_4145778749413501647_n

ปลุกพลังก่อนทำงานพร้อมรับวันใหม่อย่างสดใส

เริ่มต้นเช้าของวันทำงาน ด้วยกิจกรรมที่กระตุ้นพลัง เพื่อพร้อมรับมือกับเรื่องต่าง ๆ ที่ต้องเจอมากมาย
และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

ออกกำลังกาย เพิ่มความ Active ในการทำงาน ด้วยการออกกำลังกายเบา ๆ ยามเช้า กิจกรรมที่ได้ทั้งสุขภาพ และกระตุ้นพลังได้เป็นอย่างดี

ฟังเพลง หรือ Podcast ระหว่างเดินทางไปทำงาน ลองเปิดหา Playlist เพลง หรือ Podcast ที่ชอบ เหมือนเป็นการเปิดรับสิ่งดี ๆ ให้สมองนั่นเอง

รับประทานอาหารเช้า มื้อสำคัญที่ไม่ควรเลี่ยง เพราะหากร่างกายได้รับอาหารก่อนทำงานจะถือเป็นการเพิ่มทั้งแรงกาย แรงใจและแรงความคิดได้เป็นอย่างดี

ทำงานที่กระตุ้นสมอง เลือกงานยาก หรืองานที่ต้องใช้ความคิดหนัก ๆ ยามเช้า เพราะถือเป็นช่วงที่ร่างกายพร้อมทำงานมากที่สุด และมีแรงฮึดที่จะทำงานอื่น ๆ ต่อไปได้ไม่ยาก งานจะดีได้ ต้องมาจากพลังกาย และใจที่เต็มร้อย แนะนำให้ไปปรับใช้ เพื่อเช้าวันใหม่ที่สดใสอย่างเต็มอิ่ม

0002_2

เผาผลาญพลังงานแบบชิล ๆ แบบไม่ต้องออกกำลังกาย

หากคุณเป็นคนที่ไม่ชอบ หรือมีข้อจำกัดในการออกกำลังกาย ก็ต้องหันมาปรับพฤติกรรม การใช้ชีวิตประจำวันให้กระฉับกระเฉง โดยเพิ่มกิจกรรมขยับร่างกายเข้าไปในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น ตัวอย่างเช่น การใช้บันไดแทนการใช้ลิฟท์ การจอดรถให้ไกลกว่าเดิม ลงรถโดยสาร ก่อนที่หมาย เลือกเข้าห้องน้ำที่ไกลขึ้น พักเบรคจากการทำงาน ลุกยืน ยืด เหยียด ขยับร่างกายทุกๆ 1-2 ชม. ยกน้ำหนักเบาๆขณะโทรศัพท์ เดินประชุม หรือ เลือกปรับโต๊ะทำงานให้อยู่ในท่ายืน

อีกส่วนนึงของพลังงานที่ร่างกายเผาผลาญเอาไปใช้คือการขยับ และเคลื่อนไหวร่างกาย แค่ วิ่งเหยาะ ขยับเท้า ยกมือ หรือแม้แต่นั่งหมุนปากาเล่นๆ ร่างกายก็เผาผลาญจำนวนนึงไปใช้แล้ว มีงานวิจัยแสดงว่า การขยับเคลื่อนไหวร่างกาย โดยไม่ใช่การออกกำลังกายนั้น สามารถเผาผลาญพลังงานได้ถึง 350 kcal ต่อวันเลยทีเดียว

ขยับแล้ว ต้องคุมเรื่องกินด้วย

การที่จะมีสุขภาพที่ดี และควบคุมน้ำหนักได้ ต้องมาจากการเลือกโภชนการที่ดีด้วย ในเมื่อเราเผาผลาญพลังงานได้น้อยกว่าคนที่ออกกำลังกายแบบจริงจัง ก็ต้องให้ความสำคัญต่อปริมาณพลังงานที่กินเข้าไป พยายามควบคุมให้เกิดสมดุลพลังงาน ระหว่างพลังงานที่กินเข้าไป และพลังงานที่เบิร์นออกไป ซึ่งหากสองสิ่งนี้สมดุลกัน ก็หมดกังวลเรื่องอ้วนไปได้เลย

ขอบคุณที่มา : https://www.lovefitt.com/exercise