ลุกจากที่นั่งบ้าง อย่านั่งนานจนเกินไป

ชีวิตการทำงานในปัจจุบัน มีลักษณะการเคลื่อนไหวที่ซ้ำ ๆ ส่งผลให้เกิดอาการเมื่อยล้าและเจ็บปวดตามบริเวณต่าง ๆ ในร่างกาย บริเวณที่พบมาก ได้แก่ หลังส่วนล่าง ส่วนคอ หัวไหล่ แขน และข้อมือ เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุส่งผลให้ลดประสิทธิภาพในการทำงานลง อาทิเช่น เกิดการหยุดงาน การเจ็บป่วยเรื้อรัง และค่าใช้จ่ายในการรักษาเป็นเงินมหาศาล ส่งผลเสียต่อการผลิตในภาพรวมทั้งระดับองค์กรและระดับประเทศ
ผลที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลงานวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับการออกกำลังกายในสถานที่ทำงาน ซึ่งมีการออกกำลังกายหลากหลายรูปแบบ เช่น การออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรงของระบบหัวใจและหายใจ การออกกำลังกายพิลาทิส การออกกำลังกายยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และการออกกำลังกายลดความเครียด เป็นต้น พบว่า การออกกำลังกายทั้งหมดที่กล่าวข้างต้น ส่งผลให้ลดอาการปวดบริเวณหัวไหล่ ข้อมือ และกระดูกสันหลัง ได้ แม้จะไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าการออกกำลังกายรูปแบบใดลดความปวดได้ดีที่สุด
ใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายควบคู่ด้วย

การเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยอุปกรณ์ที่หาง่าย เช่น dumbbell หรือ kettlebell สามารถใช้ในการออกกำลังกายเพื่อลดอาการปวดจากการทำงานได้ดี หากมีการปฏิบัติในความหนัก ระยะเวลา รวมทั้งความถี่ในการปฏิบัติที่พอเหมาะ โดยจะได้ผลอย่างชัดเจนเมื่อการเสริมสร้างความแข็งแรงด้วยน้ำหนักที่ระดับสูงปฏิบัติไปอย่างน้อย 8 สัปดาห์ ส่วนการเสริมความแข็งแรงด้วยน้ำหนักที่ต่ำระดับ 30% ได้ผลเมื่อปฏิบัติไป 15 สัปดาห์
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.samitivejhospitals.com