Web_การออกกำลังกายเพื่อลดความเจ็บปวดจากการทำงาน

การออกกำลังกายเพื่อ ลดความเจ็บปวดจากการทำงาน

ลุกจากที่นั่งบ้าง อย่านั่งนานจนเกินไป

ชีวิตการทำงานในปัจจุบัน มีลักษณะการเคลื่อนไหวที่ซ้ำ ๆ ส่งผลให้เกิดอาการเมื่อยล้าและเจ็บปวดตามบริเวณต่าง ๆ ในร่างกาย บริเวณที่พบมาก ได้แก่ หลังส่วนล่าง ส่วนคอ หัวไหล่ แขน และข้อมือ เป็นต้น ซึ่งเป็นสาเหตุส่งผลให้ลดประสิทธิภาพในการทำงานลง อาทิเช่น เกิดการหยุดงาน การเจ็บป่วยเรื้อรัง และค่าใช้จ่ายในการรักษาเป็นเงินมหาศาล ส่งผลเสียต่อการผลิตในภาพรวมทั้งระดับองค์กรและระดับประเทศ

ผลที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลงานวิจัยต่าง ๆ เกี่ยวกับการออกกำลังกายในสถานที่ทำงาน ซึ่งมีการออกกำลังกายหลากหลายรูปแบบ เช่น การออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายเสริมสร้างความแข็งแรงของระบบหัวใจและหายใจ การออกกำลังกายพิลาทิส การออกกำลังกายยืดเหยียดกล้ามเนื้อ และการออกกำลังกายลดความเครียด เป็นต้น พบว่า การออกกำลังกายทั้งหมดที่กล่าวข้างต้น ส่งผลให้ลดอาการปวดบริเวณหัวไหล่ ข้อมือ และกระดูกสันหลัง ได้ แม้จะไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่าการออกกำลังกายรูปแบบใดลดความปวดได้ดีที่สุด

ใช้อุปกรณ์ออกกำลังกายควบคู่ด้วย

การเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วยอุปกรณ์ที่หาง่าย เช่น dumbbell หรือ kettlebell สามารถใช้ในการออกกำลังกายเพื่อลดอาการปวดจากการทำงานได้ดี หากมีการปฏิบัติในความหนัก ระยะเวลา รวมทั้งความถี่ในการปฏิบัติที่พอเหมาะ โดยจะได้ผลอย่างชัดเจนเมื่อการเสริมสร้างความแข็งแรงด้วยน้ำหนักที่ระดับสูงปฏิบัติไปอย่างน้อย 8 สัปดาห์ ส่วนการเสริมความแข็งแรงด้วยน้ำหนักที่ต่ำระดับ 30% ได้ผลเมื่อปฏิบัติไป 15 สัปดาห์

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  www.samitivejhospitals.com

วิ่งมากไปทำให้เข่าเสื่อมจริงหรือ

วิ่งมากไปทำให้เข่าเสื่อม…จริงหรือ?

วิ่งมากไปทำให้เข่าเสื่อม…จริงหรือไม่

งานวิจัยของ Eliza Chakravarty จากมหาวิทยาลัย Stanford ที่ศึกษากลุ่มนักวิ่ง 45 คน เทียบกับกลุ่มที่ไม่วิ่ง 53 คน เป็นเวลา 18 ปี พบว่าอัตราการเกิดข้อเข่าเสื่อมในกลุ่มนักวิ่งนั้น น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่วิ่งถึง 20% (เทียบกับ 32%) ซึ่งกลุ่มนักวิ่งมีอาการข้อเข่าเสื่อมน้อยกว่าด้วยซ้ำ

อีกงานวิจัยเป็นของ David Felson ซึ่งศึกษาข้อมูลในผู้เข้าร่วมวิจัย 1,279 คน พบว่าไม่มีความสัมพันธ์ระหว่าง การวิ่งกับอัตราการเกิดข้อเข่าเสื่อมเช่นกัน

วิ่งแล้วเข่าเสื่อม เกี่ยวกับ “น้ำหนักตัว” หรือเปล่า

นอกจากนี้ในปี 2013 ที่ผ่านมา มีงานวิจัยอีกงานที่ตีพิมพ์ออกมาโดย Paul Williams ได้ตีพิมพ์งานวิจัย ที่ศึกษากลุ่ม นักวิ่ง 74,752 คน เทียบกับคนที่ออกกำลังกายด้วยการเดิน 14,625 คน พบว่าในคน ที่วิ่งมากกว่าประมาณ 2 กิโลเมตร ต่อวัน จะมีอัตราการเกิดข้อเข่าเสื่อม รวมถึงโอกาสที่จะต้องเปลี่ยนสะโพก “ลดลง!” อีกทั้งจำนวนผู้ที่มีปัญหาจากกลุ่มนักวิ่งก็ยังน้อยกว่ากลุ่มที่ออกกำลังกาย ด้วยการเดินอีกด้วย โดยผู้วิจัยพบว่าสาเหตุที่สัมพันธ์กับการเกิดข้อเข่าเสื่อมก็คือ การที่มีน้ำหนักตัวมาก ซึ่งในกลุ่มนักวิ่งส่วนใหญ่จะมีสัดส่วนน้ำหนักตัวที่น้อยกว่า จึงไม่ค่อยพบปัญหานี้ ส่วนนักวิ่งที่มีการออกกำลังกายอย่างอื่นร่วมด้วย พบว่ามีอัตราการเกิดข้อเข่าเสื่อมสูงขึ้น

ซึ่งคิดว่าปัจจุบันนี้เราน่าจะสามารถสรุปเรื่องนี้ได้แล้วว่า “การวิ่งไม่ได้ทำให้ข้อเข่าเสื่อม” แถมยังช่วยป้องกันได้ด้วยซ้ำ ในเมื่อมีงานวิจัยใหญ่ขนาดนี้มารองรับแล้ว ต่อไปเวลามีคนบอกว่า “วิ่งมาก ๆ ระวังข้อเข่าเสื่อมนะ” ซึ่งนักวิ่งทุกท่านก็ไม่ต้องกังวลได้เลย

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  www.samitivejhospitals.com

353062512_267423345957019_8098644216651551864_n (1)

โรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม

โรคหัวใจเป็นกรรมพันธุ์จริงหรือไม่?

สาเหตุส่วนหนึ่งของโรคหัวใจ คือปัจจัยทางพันธุกรรม ซึ่งคนที่ดูแข็งแรงดีออกกำลังกายเป็นประจำ
และไม่มีอาการผิดปกตินั้นก็อาจเป็นโรคหัวใจที่ถ่ายทอดจากพันธุกรรมได้เช่นกัน

โรคหัวใจที่สามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้นั้น มีตัวอย่างดังนี้

  • โรคกล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiomyopathy)
  • โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia)
  • มาร์แฟนซินโดรม (Marfan Syndrome)
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease)
  • โรคหลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด (Aortic dissection)
เพื่อเป็นการป้องกันโรคหัวใจที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมภายในครอบครัวที่มีประวัติผู้ป่วยโรคหัวใจ การเข้ารับการตรวจยีนตั้งแต่ยังไม่มีอาการ เพื่อประเมินความเสี่ยงของโรค และเข้ารับการดูแลที่เหมาะสมตั้งแต่ระยะเริ่มแรก จะช่วยป้องกันการเกิดโรค หรือบรรเทาอาการรุนแรงของโรคและป้องกันความเสี่ยงการเสียชีวิตฉับพลันจากโรคหัวใจได้

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.samitivejhospitals.com